เมนู

ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้
ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน
ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.
จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ 10
สัพพวรรคที่ 3


อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ 10


ในทุติยสัปปายสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งทรงแสดงการยึดถือตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ด้วยอย่างละ 3 บท มีอาทิว่า เอตํ มม ดังนี้ จึงทรงแสดงเทศนา โดย
ปริวัตตนัย 3. แต่เมื่อว่าโดยลำดับในพระสูตรทั้ง 3 นี้ พระองค์ตรัส
มรรคที่ 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา.
จบ อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ 10
จบ สัพพวรรคที่ 3


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัพพสูตร 2. ปฐมปหานสูตร 3. ทุติยปหานสูตร 4. ปฐม-
ปริชานสูตร 5. ทุติยปริชานสูตร 6. อาทิตตปริยายสูตร 7. อันธ-
ภูตสูตร 8. สารุปปสูตร 9. ปฐมสัปปายสูตร 10. ทุติยสัปปายสูตร.